Sunday, December 6, 2009

สารบัญหุ้น ที่พี่ลูกอีสานเคยคอมเม้น

AIT, TFI, GFPT http://www.thaivi.com/webboard/viewtopic.phpt=33509&postdays=0&postorder=asc&start=0

TR, AH, PREB, NVL, SC, CSC http://www.thaivi.com/webboard/viewtopic.phpt=33509&postdays=0&postorder=asc&start=30

S&P, DRACO, BGT, http://www.thaivi.com/webboard/viewtopic.phpt=33509&postdays=0&postorder=asc&start=60

PTTAR, (พี่ลูกอีสานถกแนวคิดการลงทุนกับพี่ฉัตรชัย !!!http://www.thaivi.com/webboard/viewtopic.phpt=33509&postdays=0&postorder=asc&start=90

SVI, SNC (version dilute 555), MFEC http://www.thaivi.com/webboard/viewtopic.phpt=33509&postdays=0&postorder=asc&start=120

MJD, PTL http://www.thaivi.com/webboard/viewtopic.phpt=33509&postdays=0&postorder=asc&start=150

CWT, CPF, SCB, STPI http://www.thaivi.com/webboard/viewtopic.phpt=33509&postdays=0&postorder=asc&start=180

BLA, SCNYL http://www.thaivi.com/webboard/viewtopic.phpt=33509&postdays=0&postorder=asc&start=240

TRC, UEC http://www.thaivi.com/webboard/viewtopic.phpt=33509&postdays=0&postorder=asc&start=270

EGCO http://www.thaivi.com/webboard/viewtopic.phpt=33509&postdays=0&postorder=asc&start=300

BWG, UMS, MINT, BH, BGH, SCC, AOT, SCNYL(Version2),SABINA
http://www.thaivi.com/webboard/viewtopic.phpt=33509&postdays=0&postorder=asc&start=330

SAT, LPN, SPALI http://www.thaivi.com/webboard/viewtopic.phpt=33509&postdays=0&postorder=asc&start=360

GSTEEL, VNT, MAJOR, SVI (Version2), CSL
http://www.thaivi.com/webboard/viewtopic.phpt=33509&postdays=0&postorder=asc&start=390

LANNA, BGH, LRH http://www.thaivi.com/webboard/viewtopic.phpt=33509&postdays=0&postorder=asc&start=420

TNH, BGH, SIS, UMS, CPALL, SVI, IT, ILINK, AIT, WG, UVAN, TFD, TR, SAT,STANLY,MINT http://www.thaivi.com/webboard/viewtopic.phpt=33509&postdays=0&postorder=asc&start=450

CK, TTW, BECL, BMCL, SEAN, UVAN, SCNYL, AYUD, TIP, BKI, SCSMG, NKI, THRE (รวมมิตรหุ้นประกันภัย) http://www.thaivi.com/webboard/viewtopic.phpt=33509&postdays=0&postorder=asc&start=480

D1, ticon , advanc , makro , prin , pttep ,bafs,cpn, aeonts, AIM http://www.thaivi.com/webboard/viewtopic.phpt=33509&postdays=0&postorder=asc&start=540

AKR, TASCO, KCE http://www.thaivi.com/webboard/viewtopic.phpt=33509&postdays=0&postorder=asc&start=570

mint(ด้านโรงแรม), AHC, CK http://www.thaivi.com/webboard/viewtopic.phpt=33509&postdays=0&postorder=asc&start=600

LANNA, BANPU, THCOM, MJD, DTAC http://www.thaivi.com/webboard/viewtopic.phpt=33509&postdays=0&postorder=asc&start=630

SCNYL, CSC, ALUCON, AKR, SOLAR, HMPRO http://www.thaivi.com/webboard/viewtopic.phpt=33509&postdays=0&postorder=asc&start=660

ACL, BT, CIG, PSL, TTL (หุ้นกลุ่มเดินเรือ), เลือกหุ้นปันผล ดูอย่างไร, เลือกหุ้นกลุ่มก่อสร้าง http://www.thaivi.com/webboard/viewtopic.php?t=33509&postdays=0&postorder=asc&start=690
GFM, LVT, CPF, หุ้นวัฎจักร, SPACK http://www.thaivi.com/webboard/viewtopic.php?t=33509&postdays=0&postorder=asc&start=720
CNS, SLC, UPF http://www.thaivi.com/webboard/viewtopic.php?t=33509&postdays=0&postorder=asc&start=750
UMS, STANLY, PYLON, DRT http://www.thaivi.com/webboard/viewtopic.php?t=33509&postdays=0&postorder=asc&start=780
UEC, PAF http://www.thaivi.com/webboard/viewtopic.php?t=33509&postdays=0&postorder=asc&start=810
TSC, BAFS http://www.thaivi.com/webboard/viewtopic.php?t=33509&postdays=0&postorder=asc&start=840
TTW, KH, BIGC, TFUND, STPI, TICON, MAJOR http://www.thaivi.com/webboard/viewtopic.php?t=33509&postdays=0&postorder=asc&start=870
PM, TMT http://www.thaivi.com/webboard/viewtopic.php?t=33509&postdays=0&postorder=asc&start=900
KCAR, PL http://www.thaivi.com/webboard/viewtopic.php?t=33509&postdays=0&postorder=asc&start=930
IT, SE-ED http://www.thaivi.com/webboard/viewtopic.php?t=33509&postdays=0&postorder=asc&start=960
KH, BGH, BH, TTCL, GLOBAL http://www.thaivi.com/webboard/viewtopic.php?t=33509&postdays=0&postorder=asc&start=990 I
RP, MODERN, GLOW http://www.thaivi.com/webboard/viewtopic.php?t=33509&postdays=0&postorder=asc&start=1020
jmart, AMATA, BGT http://www.thaivi.com/webboard/viewtopic.php?t=33509&postdays=0&postorder=asc&start=1050
KYE http://www.thaivi.com/webboard/viewtopic.php?t=33509&postdays=0&postorder=asc&start=1070
TVO http://www.thaivi.com/webboard/viewtopic.php?t=33509&postdays=0&postorder=asc&start=1140
TIP, THRE, MTI, SCSMG, PB, PR, TWFP, TRC http://www.thaivi.com/webboard/viewtopic.php?t=33509&postdays=0&postorder=asc&start=1170
CPF, TYONG, TTA , PSL , RCL, DEMCO http://www.thaivi.com/webboard/viewtopic.php?t=33509&postdays=0&postorder=asc&start=1200
TCB, TR, BLA, SSF, QLT, TNDT http://www.thaivi.com/webboard/viewtopic.php?t=33509&postdays=0&postorder=asc&start=1230
TIPCO, TMW, TPAC http://www.thaivi.com/webboard/viewtopic.php?t=33509&postdays=0&postorder=asc&start=1260
AS, EGCO http://www.thaivi.com/webboard/viewtopic.php?t=33509&postdays=0&postorder=asc&start=1290
การควบรวมกิจการ, กองทุนอสังหาม, BCP http://www.thaivi.com/webboard/viewtopic.php?t=33509&postdays=0&postorder=asc&start=1320
การเลี้ยงดูลูก, TEAM, หุ้นกลุ่มนิคม http://www.thaivi.com/webboard/viewtopic.php?t=33509&postdays=0&postorder=asc&start=1350
BLAND, CPALL&MINT, TISCO, KK, TUF, ROJANA, แนวVI กับวิกฤตเศรษฐกิต http://www.thaivi.com/webboard/viewtopic.php?t=33509&postdays=0&postorder=asc&start=1380
การลงทุนแบบ DCA -Dollar cost average, CENTEL, BIGC, MAKRO, TRT http://www.thaivi.com/webboard/viewtopic.php?t=33509&postdays=0&postorder=asc&start=1410
BLAND, KK, LTF & RMF, คติพจน์ในดำเนินชีวิตของพี่โจ http://www.thaivi.com/webboard/viewtopic.php?t=33509&postdays=0&postorder=asc&start=1440
มุมมองต่อการศึกษา, BOL, MODERN http://www.thaivi.com/webboard/viewtopic.php?t=33509&postdays=0&postorder=asc&start=1470
SVI, DRACO, SMT, HANA http://www.thaivi.com/webboard/viewtopic.php?t=33509&postdays=0&postorder=asc&start=1500
หุ้นวัฐจักร, หุ้น Turn around, PDI, TRC http://www.thaivi.com/webboard/viewtopic.php?t=33509&postdays=0&postorder=asc&start=1560

Sunday, July 5, 2009

ต้องการซื้อ กระทิงแดง (red bull) กระป๋องจำนวนมาก ใครมีกรุณาติดต่อ ด่วน Geepf@hotmail.com

Monday, August 4, 2008

Value Investor ใหม่ ๆ

Value Investor ใหม่ ๆ หลายคนมักจะมีปัญหาในการหาหุ้นที่จะลงทุน หลายคนเริ่มจากการลงทุนตาม Value Investor ที่เป็น “เซียน” โดยเฉพาะตามเวบไซต์หุ้นต่าง ๆ ผลที่ออกมาก็คือ พวกเขามักจะขาดทุนมากกว่ากำไร เหตุผลก็คือ หุ้นตัวที่เขาซื้อลงทุนนั้นมักจะเป็นหุ้น Value ที่ “ร้อนแรง” และมีการพูดถึงกันมากและราคาขึ้นไปสูงและเร็วมากแล้ว ปัญหาของหุ้นเหล่านั้นที่ผมพบบ่อยก็คือ ข้อแรก ราคาหุ้นค่อนข้างสูงถึงสูงมากเมื่อวัดโดยค่า PB หรือราคาหุ้นเมื่อเทียบกับมูลค่าทางบัญชี เช่นสูงถึง 4-5 เท่าขณะที่ค่าเฉลี่ยของหุ้นทั้งตลาดคือประมาณ 1.5- 2 เท่า ข้อสอง คุณภาพของกิจการของบริษัทไม่ดีอย่างที่มีการวิเคราะห์กัน พูดกันชัด ๆ ก็คือ ไม่ได้มีการวิเคราะห์อย่าง “รอบด้าน” หรือทุกประเด็นที่สำคัญเกี่ยวกับคุณภาพของบริษัท พูดง่าย ๆ ดูเฉพาะบางประเด็นและบางทีก็อาจจะไม่ถูกต้องด้วย ข้อสรุปก็คือ Value Investor ใหม่คนนั้นเข้าไปซื้อหุ้นของกิจการที่มีคุณภาพธรรมดา ๆ หรือคุณภาพต่ำในราคาที่สูง ผลก็คือ เขาขาดทุน วิธีที่จะวิเคราะห์ว่าคุณภาพของกิจการนั้นดีหรือไม่นั้นผมเองเคยพูดไว้หลายครั้งแต่อาจจะไม่ได้กำหนดเป็นข้อ ๆ อย่างชัดเจนและอาจจะไม่ครอบคลุมทุกประเด็น ดังนั้น ผมจึงอยากที่จะเขียนอีกครั้งหนึ่งโดยพยายามที่จะครอบคลุมประเด็นสำคัญทั้งหมดเพื่อที่นักลงทุนจะไม่พลาดที่จะวิเคราะห์เรื่องใดเรื่องหนึ่งและทำให้การสรุปผลการวิเคราะห์ผิดพลาด การวิเคราะห์คุณภาพของกิจการนั้น เราจะต้องดูประเด็นต่าง ๆ ที่สำคัญดังต่อไปนี้ ข้อหนึ่ง ต้องดูว่าบริษัทมี DCA หรือความได้เปรียบในการแข่งขันที่ยั่งยืนหรือไม่ ใจความสำคัญก็คือ คำว่า “ยั่งยืน” เพราะในบ่อยครั้ง เราจะพบว่าบริษัทมีความได้เปรียบคู่แข่งอาจจะเพราะว่าบริษัทเริ่มทำก่อนในขณะที่คู่แข่งคนอื่นยังไม่ทันคิดทำ แต่ถ้าสิ่งที่บริษัททำนั้นคู่แข่งสามารถเลียนแบบได้ไม่ยาก การได้เปรียบนั้นก็อาจจะไม่ยั่งยืน ถ้าเป็นแบบนี้ “คะแนน”เรื่องคุณภาพก็หายไปมาก และนี่เป็นคะแนนที่สำคัญที่สุดข้อหนึ่ง ข้อสอง ต้องดูว่าผลการดำเนินงานหรือกำไรของบริษัทนั้นเราสามารถคาดการณ์ได้ด้วยความแม่นยำหรือไม่ คำว่าแม่นยำนี้ไม่ใช่ว่าเราเป็นคนที่คำนวณเก่งหรือมีความสามารถพิเศษ แต่หมายถึงว่าลักษณะของธุรกิจนั้นมีลักษณะที่มีความสม่ำเสมอหรือมั่นคงและไม่ถูกกระทบโดยปัจจัยที่คาดการณ์ไม่ได้มากนัก โดยทั่วไป ธุรกิจที่มีสัดส่วนของการ “ซื้อซ้ำ” หรือที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า Recurring Revenue สูง เช่นสินค้าอาหารหรือของใช้หรือบริการประจำวันที่สิ้นเปลือง หรืออย่างในกรณีที่บริษัทเป็นเจ้าของพื้นที่อาคารให้เช่าที่ลูกค้ามักต่อสัญญาเช่า เหล่านี้ถือว่าเป็นกิจการที่เราสามารถคาดการณ์ผลการดำเนินงานได้ค่อนข้างแม่นยำ ถือว่าเป็นกิจการที่มีคุณภาพดี ในขณะที่การขายบ้านจัดสรรหรือธุรกิจรับเหมาก่อสร้างนั้น ผู้ใช้คนเดิมมักจะไม่กลับมาซื้อหรือใช้บริการอีกในปีหน้า กรณีหลังถือว่าคุณภาพของกิจการด้อยกว่า ข้อสาม ธุรกิจคุณภาพดีนั้น มีความสามารถในการสร้างกระแสเงินสดสูง นั่นก็คือ ธุรกิจที่มักจะไม่ต้องลงทุนมากในการที่จะรักษายอดขายหรือขยายกิจการต่อไป เงื่อนไขข้อนี้ทำให้กิจการที่เป็น Capital Intensive เช่นพวกโรงงานที่ต้องลงทุนสูงในการสร้างมักจะเสียเปรียบในเรื่องคุณสมบัติข้อนี้ เช่นเดียวกัน กิจการที่ต้องให้เครดิตลูกค้ายาวในขณะที่เวลาซื้อสินค้าต้องจ่ายเป็นเงินสด เช่น พวกผู้ค้าส่งที่ต้องนำสินค้าจากต่างประเทศมาขายให้กับตัวแทนจำหน่ายในประเทศก็มักจะมีกระแสเงินสดที่ไม่ดี ในทางตรงกันข้าม ธุรกิจที่ขายปลีกเวลาขายมักจะรับเงินสดแต่เวลาซื้อสินค้าจาก Supplier กลับจ่ายเชื่อเป็นเดือน ๆ แบบนี้ก็ถือว่าเป็นคุณสมบัติด้านคุณภาพที่ดี ส่วนกิจการที่ซื้อสินค้าเป็นเงินเชื่อและขายสินค้าก็เป็นเงินเชื่อพอ ๆ กันก็ถือว่าเป็นคุณภาพปกติ ข้อสี่ คุณภาพของบริษัทนั้นต้องดูถึงฐานะทางการเงินด้วย โดยทั่วไปมักจะดูที่หนี้จากสถาบันการเงินที่บริษัทกู้มา เช่น ถ้าหนี้มากเป็นหนึ่งเท่าของส่วนของทุนจากผู้ถือหุ้น แบบนี้ก็อาจจะพูดว่าคุณภาพข้อนี้ไม่ดี แต่ตัวเลขที่ดีกว่าอาจจะดูว่าหนี้นั้นเมื่อเปรียบเทียบกับกำไรของบริษัทแล้ว ต้องใช้เวลากี่ปีถึงจะชดใช้ได้หมด เช่นมีหนี้ 1,000 ล้าน กำไรปีละ 250 ล้าน แปลว่าแปลว่าภายใน 4 ปีก็สามารถใช้หนี้ได้หมด แบบนี้ก็อาจจะมองว่าหนี้ยังไม่มากเกินไปพอรับได้ อย่างไรก็ตาม บริษัทที่ไม่มีหนี้จากสถาบันการเงินเลยต้องถือว่ามีคุณภาพดี และถ้าแถมบริษัทมีเงินสดมากด้วย แบบนี้ก็ถือว่า คุณภาพในข้อนี้บริษัทได้คะแนนเต็ม ข้อห้า คุณภาพดูได้จากกำไรต่อส่วนของทุนหรือ ROE นี่คือความสามารถที่บริษัทจะทำกำไรคุ้มค่าเงินทุนที่บริษัทลงไป ธุรกิจที่มี ROE ต่ำหรือต่ำมากนั้น ว่าโดยทางทฤษฎีแล้วไม่ควรทำธุรกิจเลยไม่ต้องพูดถึงว่าจะขยายงาน เพราะทำไปแล้วก็ไม่คุ้มสู้จ่ายเงินทุนคืนเจ้าของไปจะดีกว่า อย่างไรก็ตาม เวลาดูตัวเลข ROE ควรดูด้วยว่าบริษัทไม่ได้กู้เงินมากที่ทำให้บางครั้ง ROE ดูสูงแต่จริง ๆ แล้วเป็นการเอาเงินคนอื่นมาใช้ซึ่งเป็นสิ่งที่อันตราย โดยปกติ ROE อย่างต่ำควรจะประมาณ 12-13% ขึ้นไป ถ้าต่ำกว่า 10% ต้องถือว่าคุณภาพแย่ สุดท้ายที่สำคัญก็คือ ผู้บริหาร การวิเคราะห์คุณภาพของกิจการในเรื่องของผู้บริหารนั้นเป็นเรื่องที่สำคัญมากและก็ทำได้ยากมาก อย่างไรก็ตาม ถ้าบริษัทอยู่ในตลาดมานาน การติดตามผลการดำเนินงานและการตัดสินใจต่าง ๆ ของบริษัทโดยเฉพาะในเรื่องของการจัดสรรผลประโยชน์ให้กับผู้ถือหุ้นเป็นสิ่งที่ช่วยบอกถึงคุณภาพของผู้บริหารได้ไม่น้อย ประเด็นสำคัญที่ต้องระวังสำหรับ Value Investor ก็คือ อย่าใช้ภาพพจน์หรือความรู้สึกของเราเป็นเครื่องตัดสิน บ่อยครั้งเราจะรู้สึกประทับใจกับผู้บริหารบางคนเป็นพิเศษจากการได้ฟังได้สัมผัสทำให้เราคิดว่าเขาเป็นผู้บริหารที่มีคุณภาพทั้งด้านการบริหารและบรรษัทภิบาล ทั้งที่ความเป็นจริงไม่ได้เป็นอย่างนั้น ตรงกันข้าม บางครั้ง เรามีความรู้สึกที่ไม่ดีหรือได้ฟังว่าผู้บริหารบางคนดูไม่น่าไว้วางใจ แต่เราก็ไม่เคยตรวจสอบดูว่าเขาได้ทำอะไรที่ไม่ดีจริงไหมในเรื่องที่เกี่ยวกับบริษัท และนั่นก็คือ Check List หรือรายการที่สำคัญในการวิเคราะห์คุณภาพของกิจการที่เราต้องทำกับทุกบริษัทที่เราสนใจจะลงทุน หัวใจสำคัญก็คือ เราต้องวิเคราะห์ด้วยความเป็นกลางมากที่สุด ไม่รัก ไม่เกลียด ไม่เชื่อคนอื่น และไม่ใช้ความรู้สึกนึกคิดของตนเองเป็นตัวตัดสิน

Monday, June 30, 2008

การที่ตัดสินใจลงทุนถาวร

คุณลูำกอีสาน Say :

PostPosted: Sun Jun 29, 2008 5:51 pm Post subject: Re: รบกวนถามพี่ๆ Mon money, chatchai, ลูกอีสาน และท่านอื่นๆค Reply with quote

Tibular wrote:
อยากทราบความคิดตอนที่พี่ๆตัดสินใจออกจากงานประจำมาเป็นนักลงทุนเต็มตัวคับ อะไรเป็นที่มาของการตัดสินใจคับ รู้สึกอย่างไร กลัวไหมคับที่ต้องเผชิญกับความไม่แน่นอนในตลาด และก็ไม่มีรายได้ประจำ ห่วงไหมคับกับคนที่อยู่ข้างหลัง อะไรเป็นแรงผลักดัน และพี่ๆมีการวางแผนรับมือกับการตัดสินใจนี้อย่างไรถ้ามันไม่เป็นไปตามที่คิด ความรู้ ประสบการณ์ และเงินทุน เป็นสิ่งจำเป็นในการเป็นนักลงทุน แต่เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเราสามารถจะเป็นนักลงทุนที่ดีได้ อะไรเป็นสิ่งที่บอกพี่ๆว่าพร้อมแล้วคับ




ตอนตัดสินใจมาลงทุนอย่างเดียว ผมใช้เวลาตัดสินใจไม่นานเลยครับ ไม่ใช่เพราะทนงว่าฝืมือตัวเองดีอะไร Embarassed แต่เป็นเพราะตอนนั้นผมมีทางเลือกไม่มากนัก เพราะตกงานกระทันหัน พร้อมๆกับลูกคนแรกคลอดออกมา ถ้าผมจะหางานใหม่ก็คงเหมือนๆเดิม คือเงินเดือนน้อยมากไม่เกิน 15,000 บ/เดือน(ต่างจังหวัดที่ผมอยู่งานน้อยแต่แรงงานจบมหาลัยเยอะ) แถมต้องทำงาน 6 วัน กลับบ้านก็เกือบค่ำ เรียกว่าคุณภาพชีวิตต่ำกว่าเกณฑ์ แถมถ้าผมกลับไปทำงานก็ต้องจ้างคนเลี้ยงลูกตอนกลางวันอีก ค่าใช้จ่ายเลี้ยงเด็ก+ค่าน้ำมันรถไปทำงานก็มากกว่าครึ่งของเงินเดือนแล้ว ตอนนั้นเริ่มลงทุนได้ประมาณ 5 ปี ผลตอบแทนปีหลังๆก็ดูดีขึ้นแต่พอร์ตลงทุนยังไม่มีอิสรภาพทางการเงิน(ต่ำกว่า 200 เท่าของรายจ่ายประจำเดือน) แต่ด้วยเหตุผลข้างต้น ผมตัดสินใจลองดู ชีวิตเมื่อถึงทางสองแพร่ง ก็ต้องเลือกทางใดทางนึงครับ ถามว่าเสี่ยงไหม ถ้าทุกอย่างไม่เป็นไปตามที่คาด ภรรยาผมยังมีรายได้ประจำที่มั่นคง ถึงผมไม่มีรายได้เลยก็ยังพออยู่ได้แบบกระเบียดกระเสียร พอร์ตลงทุนก็ยังพอมีให้กินบุญเก่าไปได้อีกหลายปี ถ้าแย่ที่สุดจริงๆก็กลับไปทำงานประจำใหม่ เท่านั้นจริงๆ ชีวิตผมต้นทุนต่ำครับ ความรู้ก็มี สองแขนสองขาก็ยังดี และผมไม่กลัวความลำบาก

ถ้าให้ผมแนะนำเล็กๆน้อยๆคนที่จะมาเป็นนักลงทุน
1.พอร์ตเงินลงทุนไม่ควรต่ำกว่า 200 เท่าของรายจ่ายประจำต่ำเดือน เช่นรายจ่ายประจำ 15,000 ต่อเดือนพอร์ตไม่ควรต่ำกว่า(15000*200)= 3 ล้าน หรือเท่ากับผลตอบแทน 6% ต่อปีครับ( 3000000*.06)= 180,000 บ/ปีหรือ 15,000/เดือน แต่ข้างต้นคิดเฉพาะค่าใช้จ่ายประจำนะครับ ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายไม่ประจำอีก เช่นค่ารถ ค่าบ้าน ค่าพยาบาล ดังนั้นถ้าให้ชัวน์หน่อย ผมคิดว่าพอร์ต 300-400 เท่าของรายจ่ายประจำน่าจะทำให้ออกมาลงทุนสบายใจกว่าครับ
2.ต้องพอจะมีประสบการณ์ลงทุนระดับนึง ลงทุนมาแล้วอย่างน้อย 5 ปี และผลตอบแทนควรชนะตลาดอย่างมีนัยสำคัญ ที่สำคัญต้องรู้ตัวเองว่าเรามีความรู้ระดับไหน มีอารมย์มั่นคงพอที่จะรับกับความผันผวนของตลาดได้หรือไม่ หลายคนมีความรู้ว่าหุ้นตัวไหนดี แต่ซื้อขายผิดจังหวะขาดทุนเพราะอารมณ์ตลาดพาไป มีตัวอย่างให้เห็นเยอะครับ
3.เพื่อเพิ่มความแน่นอนอีกระดับ ถึงเราจะขาดทุนหุ้นหมดตัวก็ยังมีข้าวกิน เช่น มีรายได้ทางอื่นเช่นค่าเช่า ภรรยายังมีรายได้ประจำ ยังมีพ่อแม่จุนเจือ จะลดความกดดันไปได้เยอะครับ
4.แรงกดดันทางสังคม ถ้าเรากำลังจะขอสาวแต่งงาน อย่าเพิ่งไปบอกพ่อแม่ฝ่ายหญิงนะครับ ว่าเราเล่นหุ้นกิน จะไม่มีใครยกลูกสาวให้ สังคมยังไม่ยอมรับว่าอาชีพนี้จะยั่งยืนเลี้ยงชีพได้ แถมถูกมองว่าเป็นคนขี้เกียจ (ก็มีส่วนจริง Laughing ) นอกจากนั้นยังไม่ค่อยมีสังคมเพื่อนฝูงเหมือนทำงานประจำครับ (แต่นี่ไม่จริงเสมอไป ขึ้นอยู่กับอุปนิสัยแต่ละคนด้วย อย่างผมมีเพื่อนมากกว่าตอนทำงานประจำเสียอีก)

ส่วนคนที่ผมคิดว่ายังไม่พร้อมที่จะออกมาลงทุนก็คือไม่ผ่านเกณฑ์คร่าวๆ 4 ข้อที่ผมโพสต์ข้างตน หรือคนที่ผ่านเกณฑ์ แต่ยังมีความสุขกับงานประจำ รู้สึกว่าตัวเองมีค่า มีประโยชน์ต่อคนอื่น อย่างนี้ก็ไม่จำเป็นต้องออกจากงานประจำ ที่จริงงานประจำกับการลงทุนสามารถทำควบคู่กันได้ และสามารถทำได้ดีทั้งคู่ ขึ้นอยู่กับแต่ละคนครับ Surprised

ข้อเสียของอาชีพนักลงทุนเท่าที่เจอคือสังคมจะแคบลง การพัฒนาความรู้ใหม่ๆด้านการจัดการในองค์กรณ์ธุรกิจจะหายไปหมด สิ่งที่พอจะชดเชยกันได้คือเพื่อนๆในแวดวงการลงทุน ความรู้ใหม่ๆในการลงทุนครับ และที่ผมคิดว่าเป็นข้อดีที่ชัดเจนคือ

1.ทำมากได้มาก ทำน้อยได้น้อย ลองคิดดูว่าเราทำงานชิ้นนึงเหมือนกัน โดยกรณีแรกมีเวลาให้ทำ 2 ชม. และอีกกรณีให้เวลาทำ 2 วัน แน่นอนว่าถ้าเรามีเวลาทำมากกว่า ผลชิ้นงานก็น่าจะออกมาดีกว่า การลงทุนก็เช่นกันครับ

2.ต่อเนื่องจากข้อแรก การลงทุนค่อนข้างแฟร์ ไม่เข้าใครออกใคร ถ้าเราทำงานการลงทุนได้ดี เราจะได้เงินดี แต่ถ้าเราทำงานประจำ ไม่แน่นะครับ ว่าเราทำงานได้ดีแล้วจะได้เงินเพิ่มขึ้นหรือเปล่า ยิ่งในแวดวงราชการ คนทำงานแย่ คนทำงานดี คนทำงานดีมาก ได้เงินต่างกันไม่มากหรอกครับ (ที่พูดถึงเรื่องเงินไม่ใช่หน้าเงินนะครับ แต่ส่วนตัวคิดว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับทุกคนคือคุณภาพชีวิต ซึ่งเงินเป็นปัจจัยสำคัญ)

3.ชีวิตเราเป็นของเรา เรายืนอยู่บนเท้าเราเอง ถ้าใครทำงานประจำเป็นมนุษย์เงินเดือนทั่วไปคงพอจะทราบนะครับ ว่าการรับเร่งเพื่อให้เข้างานทันตอกบัตร อิสระที่จะพูดจะคิด ไม่ต้องกลัวว่าใครจะมาไล่เราออก ไม่ต้องไปไหว้ ไปพยักหน้าหนึกๆกับเจ้านาย กับลูกค้า อิสระที่จะไปทำธุระปะปัง ไปธนาคาร พาลูกไปฉีดวัคซีน ไปไปรษณีย์ ต่อทะเบียบรถ งานบวช งานแต่ง งานศพ สารพัด.... เหล่านี้หากเราเป็นนักลงทุนจะไม่มีปัญหา ความเครียดความกดดันจะหายไปเกือบหมด คุณภาพชีวิตจะดีขึ้นมาก


Yoyo Say:

ข้อเขียนของพี่ลูกอีสานนี่เฉียบคมตลอดจริงๆ.. ยิ่งอ่านแล้วก็ยิ่งได้ idea ที่เพิ่มเรื่อยๆ ขอคารวะ

ผมเองก็ออกมาลงทุนเป็นอาชีพได้พักนึงแล้วเหมือนกัน จะขอยืมตอบในมุมของพี่ลูกอีสานนะครับ

Quote:
1.พอร์ตเงินลงทุนไม่ควรต่ำกว่า 200 เท่าของรายจ่ายประจำต่ำเดือน


port ลงทุนที่ผมเคยคิดว่าจะออกลงทุนอย่างเดียวก็คิดโดยใช้หลักการคล้ายๆกันนะครับ คือรายได้จากเงินปันผลอย่างเดียวควรจะครอบคลุมค่าใช้จ่ายได้ครบ โดยประเมินว่าเงินปันผลน่าจะได้แบบ safeๆ ประมาณ 5% ต่อปี หรือคิดเป็นเงินลงทุน 240 เท่าของรายจ่าย แต่ผมมองว่ารายจ่ายนี้ควรจะเป็นรายจ่ายในระยะยาว คือหลังจากคำนึงถึงเวลาที่มีครอบครัว เลี้ยงลูกเลี้ยงเมียได้ด้วย.. ผมไม่ใช่คนที่สุรุยสุร่ายมาก แต่ก็ไม่ใช่คนที่ประหยัดมากมาย ผมประเมินรายจ่ายระยะยาวของผมไว้ที่เดือนละ ประมาณ 100,000 บาท (เยอะหน่อย แต่ผมคิดว่าเผื่อไว้ก่อนเป็นดี) เพราะงั้นผมจะต้องมี port ลงทุนอย่างต่ำคือ 24 ล้านบาท

พอดีว่าช่วงที่ผมเรียนโทอยู่ ผมก็ไม่ได้ทำงานอะไร อาศัยว่าใช้เงินทุนกินไปเรื่อยๆ ตอนเริ่มเรียน port ก็ยังไม่ถึงจุดที่จะเป็นนักลงทุนอาชีพได้ ระหว่างเรียนไปก็ยังตั้งใจครับว่าเรียนจบปุ๊บก็จะออกไปหางาน ระหว่างเรียนอยู่เองก็มีสมัครงานไว้บ้าง สัมภาษณ์งานไว้บ้าง แต่จังหวะช่วงที่ผมเรียนจบ port การลงทุนมันก็โตขึ้นค่อนข้างเร็ว ทำให้พอถึงเวลาเรียนจบออกมาจริงๆแล้ว ผมก็เลยไม่ได้หางานต่อ

Quote:
2.ต้องพอจะมีประสบการณ์ลงทุนระดับนึง ลงทุนมาแล้วอย่างน้อย 5 ปี และผลตอบแทนควรชนะตลาดอย่างมีนัยสำคัญ


ณ เวลาที่ผมเรียนจบและออกมาลงทุน ผมมีประสบการณ์มาประมาณ 4.5 ปี .. ตอนนั้นก็คิดเหมือนกันครับว่าประสบการณ์ของตัวเองเพียงพอรึเปล่า เพราะที่ผ่านมาก็ลงทุนในปีที่ตลาดไม่ได้แย่มาก คือไม่ได้ผ่านวิกฤตมา แต่ก็หลอกๆตัวเองเหมือนกันว่าเราน่าจะเอาตัวรอดได้ ถ้าวิกฤตมาเยือนจริงๆ

Code:
3.เพื่อเพิ่มความแน่นอนอีกระดับ ถึงเราจะขาดทุนหุ้นหมดตัวก็ยังมีข้าวกิน เช่น มีรายได้ทางอื่นเช่นค่าเช่า ภรรยายังมีรายได้ประจำ ยังมีพ่อแม่จุนเจือ จะลดความกดดันไปได้เยอะครับ


ที่บ้านก็มีธุรกิจอยู่ รวมถึงผมก็ยังมองว่าถ้าพลาดยังไง ผมเองก็ไม่ได้มีรายจ่ายอะไรเยอะมาก.. ถ้าหมดตัวจริงๆ ก็คงออกไปหางานได้ไม่ยาก คงจะเอาตัวรอดไปได้โดยไม่ได้เดือดร้อนมาก


Quote:
4.แรงกดดันทางสังคม ถ้าเรากำลังจะขอสาวแต่งงาน อย่าเพิ่งไปบอกพ่อแม่ฝ่ายหญิงนะครับ ว่าเราเล่นหุ้นกิน จะไม่มีใครยกลูกสาวให้ สังคมยังไม่ยอมรับว่าอาชีพนี้จะยั่งยืนเลี้ยงชีพได้ แถมถูกมองว่าเป็นคนขี้เกียจ (ก็มีส่วนจริง ) นอกจากนั้นยังไม่ค่อยมีสังคมเพื่อนฝูงเหมือนทำงานประจำครับ (แต่นี่ไม่จริงเสมอไป ขึ้นอยู่กับอุปนิสัยแต่ละคนด้วย อย่างผมมีเพื่อนมากกว่าตอนทำงานประจำเสียอีก)


- พอดียังไม่ได้ขอสาวแต่งงาน ปัญหาเรื่องนี้ก็ตกไป ไม่เคยได้คิดเลย
- เรื่องถูกมองเป็นคนขี้เกียจ นี่ผมว่าก็มีส่วนจริง Laughing (เหมือนพี่ลูกอีสาน)
- ส่วนเรื่องสังคม ตอนนั้นเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ผม concern มากที่สุดครับ ก่อนตัดสินใจจริงๆก็คิดหนักอยู่เหมือนกันว่าถ้าลงทุนอย่างเดียวนี่เพื่อนจะน้อยลงมากมั๊ย จะเบื่อมั๊ยจะเหงามั๊ย... แต่ช่วงที่ใกล้จะออกมาลงทุนจริงๆ เริ่มเห็นเพื่อนๆนักลงทุนรุ่นใกล้ๆกัน ลงทุนเป็นอาชีพมากขึ้นเรื่อยๆ เลยคิดว่าปัญหาตรงนี้คงไม่หนักหนามาก.. แล้วพอออกมาลงทุนจริงๆกลับกลายเป็นว่าเรามีเวลามากขึ้น การออกไปพบปะสังคมใหม่ๆก็มากขึ้น รู้สึกคล้ายๆกะพี่ลูกอีสานครับว่าเพื่อนที่ Hang out ด้วยกันบ่อยๆนี่เยอะกว่าทำงานประจำซะอีก

โดยสรุปแล้วหลังจากที่ผมออกมาลงทุนอย่างเดียวเป็นเวลาประมาณ 1 ปี ก็ไม่รู้สึกเสียดายครับที่ตัดสินใจไป แต่ของอย่างนี้ก็คงต้องใช้เวลาพิสูจน์อีกหลายปีครับ


คุณนริศ Say:

ที่จริงว่าจะไม่โพสท์ เพราะผมยังไม่ได้เลิกจากงานประจำ แต่มันคันไม้คันมือ ขอแชร์ความเห็นนะครับ

คุณลูกอิสานสามารถยืนได้ด้วยขาการลงทุนของตนเอง ต้องเราก็ต้องยอมรับว่า จะมีสักกี่คนที่เป็นเซียนหุ้น มีกี่คนที่เก่งเหมือนเขา เพราะฉะนั้นผมว่าปลอดภัยไว้ก่อนจะดีกว่า สำหรับคนที่คิดจะลงทุนเพียงอย่างเดียว

ก่อนหน้านี้สักครึ่งปี ผมก็มีแนวคิดว่าจะเลิกทำงานประจำ เพราะถ้าพูดถึงเกณฑ์ทั้ง4ข้อ ผมก็ผ่านมาแล้ว และภาระที่ต้องแบกก็เบาบางลงแล้ว เราจะเหนื่อยไปทำไม

แต่มาสองเดือนหลังนี่ ผมก็คิดอีกมุมหนึ่งว่า ที่เราเป็นอยู่ตอนนี้ที่ทำงานประจำ เราก็ลงทุนในหุ้นได้ งานประจำของเราก็เป็นcash cow ตัวใหญ่ที่ใครๆก็อยากได้ แล้วเราจะเลิกไปทำไม ถ้าเรายังมีความสุข ถึงแม้นจะเหนื่อยกายและใจบ้างเป็นครั้งคราวกับงาน แต่ผมก็คิดว่านั่นคือครูที่จะช่วยให้เราพัฒนาตนเอง
และพอมาเจอสภาวะเงินเฟ้อช่วงนี้ ผมเลยคิดว่าTIMING การเลิกทำธุรกิจตอนนี้ของผมที่จะมาลงทุนอย่างเดียวยังไม่ถึงจังหวะที่ดี
ยังไงคนที่จะหันมาลุยลงทุนอย่างเดียว ช่วงที่สภาวะไม่แน่นอนของเศรษฐกิจอย่างนี้ ขอให้ยึดหลัก เก้าอี้สามขาของจีนไว้ดีกว่าครับ



Saturday, February 9, 2008

สูตร

ที่มาของสูตรนี้ มีเหตุมีผลตรงตามนิยามของการลงทุนเน้นคุณค่าเลยครับ อาจเป็นเพราะผู้เขียนก็เป็นคนที่ศรัทธาในการลงทุนแนวนี้ โดยการเสนอเป็นสูตรให้เข้าใจง่ายอย่างนี้ครับ
1.เลือกหุ้นที่ดี สามารถใช้สินทรัพย์สร้างกำไรได้สูงสุด ซึ่งเราสามารถหาได้จากอัตราส่วนผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ซึ่งก็คือ ROA นั่นเอง หาได้ไม่ยาก โดยนำกำไร/สินทรัพย์ทั้งหมด คิดออกมาเป็น%

2.เลือกหุ้นที่ถูก ซึ่งก็คือหุ้นที่สร้างผลตอบแทนต่อเงินที่เราลงทุนได้สูงสุด อัตราส่วนนี้ก็คือ PE ที่เราใช้นั่นเอง หาได้จาก กำไร/มูลค่าทั้งบริษัท หรือกำไรต่อหุ้น/ราคาหุ้น คิดออกมาเป็น % จะเห็นได้ว่าตรงกับความหมายของ vi คือเลือกหุ้นที่ดีราคาถูก วิธีการก็ง่ายๆอย่างนี้ครับ... 1.เรียงลำดับหุ้นที่มี ROA สูงสุด ลดหลั่นกันไปตามลำดับของหุ้นทั้งตลาด 400 ตัว 2.เรียงลำดับหุ้นที่มี PE ต่ำสุดเป็นอันดับแรก และลดหลั่นกันไป

3.นำลำดับทั้งสองตัวมีบวกกัน แล้วเรียงลำดับใหม่ให้ตัวเลขน้อยที่สุดเป็นอันดับแรก และลดหลั่นกันไป 4.คัดบริษัทที่มีกำไรผิดปกติออกไป 5.เลือกลงทุนหุ้นที่อยู่ใน 30 อันดับแรก ซื้อและขายใน 1 ปีต่อมา ง่ายๆแค่นี้ครับ.....

Wednesday, October 31, 2007

ของพี่ครรชิต

สูตรการหา มูลค่าที่แท้จริง(Intrinsic Value) ของแกรแฮม มีดังนี้


มูลค่าที่แท้จริง(Intrinsic Value) = E(2r+8.5)*4.4/Y

มูลค่าที่แท้จริง(Intrinsic Value) = EPS(2*อัตราเปลี่ยนแปลงของกำไร+P/Eอ้างอิง)*ค่าคงที่(4.4)/อัตราดอกเบี้ยอ้างอิง

มูลค่าที่แท้จริง(Intrinsic Value) = EPSปีที่ผ่านมา*(P/Eที่คาดการณ์ในอนาคต)*4.4/อัตราดอกเบี้ยอ้างอิง

E = ผลกำไรต่อหุ้นของบริษัทปีสุดท้าย (EPS)
อย่างเช่น EPS 46 = 8

r = คาดการณ์อัตราการเติบโตของผลกำไร
อย่างเช่น ถ้า EPS 46 = 8
และเราคาดการณ์ว่า EPS 47 = 9
ฉนั้น r = (9-8 )/8 = 0.125
การคูณด้วย 2 ผมเดาเอาว่า แกรแฮม คงคาดว่า
ค่า P/E จะเปลี่ยนแปลงเป็น 2 เท่าของการเปลี่ยนแปลงของ EPS เสมอ
เนื่องจาก ตลาดมักตอบสนองเกินจริง เสมอ


Y = ผลตอบแทนของตราสารหนี้ที่ได้รับการจัดอันดับในระดับ AAA
อย่างเช่น หุ้นกู้ของ SCC084A ผลการจัดอันดับ A(tha) (FITCH)
อัตราดอกเบี้ย อัตราดอกเบี้ยคงที่ เท่ากับร้อยละ 4.25 ต่อปี
ก็อาจใช้ตัวเลขนี้ก็ได้


ตัวเลข 8.5 เป็นตัวเลขที่แกรแฮมเชื่อว่าเป็น ค่า P/E ที่ควรจะเป็นของบริษัทที่ไม่มีการเติบโต
(ซึ่งอันนี้แล้วแต่ความคิดของแต่ละบุคคลแล้วแต่หมวดธุรกิจอาจเป็น 10,12,15,20)

แต่ ตัวเลข 4.4 มาจากสมมุติฐานไหนไม่ได้บอกไว้
ผมเดาว่า น่าจะใช้ อัตราปันผลของปีที่แล้ว

มูลค่าที่แท้จริง(Intrinsic Value) = 8*(2*0.125+8.5)*4.4/4.25 = 72.47 บาท





มูลค่าที่แท้จริง(Intrinsic Value) ควรอยู่ที่เท่าใด
แล้วดูว่า ราคาตลาด อยู่สูงหรือต่ำ ถูกหรือแพง กว่า มูลค่าที่แท้จริง(Intrinsic Value) ที่เราหาได้นี้


ผมเองก็ไม่เคยสนใจ ไม่เคยคิดหา Intrinsic Value ตามสูตรนี้ สักที่

ผมดูแต่จากประวัติงบดุล
ดูการเจริญเติบโตของ EPS
ดูว่าเป็นธุรกิจที่ดีหรือเปล่าโดยดูที่ ROA% ROE% PM% ต้องสูงเข้าไว้
แล้วมาดูว่ายังราคาถูกอยู่หรือเปล่าที่ P/E ฺP/BV อัตราการจ่ายปันผล

ดูรวมๆแล้ว ถ้าพอใจก็ซื้อ

Thursday, September 20, 2007

First

ผมอ่านใน web board บทความ ของ www.thavi.com เเล้วรุ้สึกถึงความเป็นนักลงทุนในหุ้นระยะยาว ลงทุนพื้นฐาน ดีเเบบ Value Investorมันต้องอาศัยความอดทนเเละจิตใจที่เยือกเย็นรอ....รอเฝ้ารอเหมือนการ
ตกปลารอให้่ปลามากิน(รอราคาหุ้นพื้นฐานดีๆๆ)เเละถือให้ยาวจนให้บริษัทเเสดงศักยภาพออกมา ประมาณ 1-3ปี(ตำราเค้าว่ากันอย่างนั้น)เเละที่สำคัญกว่านั้นจะต้องมีการเปรียบเชิงเเข็งขันโดยเเบบยั้งยืนอีก....ยากจริงเหนอ

นักลงทุนที่ประสบความสำเร็จจะต้อง

(1) เลือกหุ้นที่ดีๆ มี growth สูงๆ
(2) อดทนรอราคาซื้อที่เหมาะสม
(3) ลุยซื้อ
(4) exit หรือ cut loss ถ้าตัดสินใจพลาด
(5) อดทนรอกำไรที่จะได้รับ
(6) ปรับปรุงพอร์ตเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ

ผมมีวิธีจำกัดความเสี่ยงแบบนี้ครับ สองข้อ ง่าย ๆ

1. งบการเงินย้อนหลังสามปีขึ้นไป
-กำไรต่อเนื่อง เพิ่มทุกปียิ่งดี
- roa roe npm yield growth
สูตรก้อ 15 15 10 5 10 ตามลำดับ ยิ่งสูงยิ่งดี
- อัตราส่วนกำไรสุทธิ ต่อหนี้สินระยะยาว
- กระแสเงินสด ถ้าเป็นแคชคอมปานี ยิ่งแจ๋ว


ไม่ว่าจะวีไอวีเอส จะต้องทำทั้งหกข้อนี้ ก็เหมือนการทำสงคราม
แหละครับ

ส่วนที่แตกต่างกันไปแต่ละคนคือ tactics ในการเลือกหุ้นเอง
บางคนเลือกเพราะกราฟสวย บ้างก็เลือกเพราะผลงานในอดีตดี
บ้างก็เพราะกำไรสะสมเยอะ

ส่วนราคาที่เหมาะสม บ้างก็ดูจากกราฟ บ้างก็ดู p/e p/bv บ้างก็
ดู peg บ้างก็ดู dcf

tactics ในการ exit ก็ต่างกัน บางคนตั้งจุด cut loss จากราคา บ้าง
ก็ดูผลประกอบการ บ้างก็ดู macro/micro economy trend บางคน
ก็ดูนักวิเคราะห์พูด

ส่วนกำไรแต่ละคนก็ต้องการไม่เหมือนกัน บางคนรอปันผลอย่างเดียว
บางคนรอ capital gain อย่างเดียว บางคนรอมันทั้งสองอย่าง



จากประสบการณ์พบว่า (ประสบการณ์คนอื่นนะครับ)
การวิเคาระห์หุ้น ใครก็ทำได้
การหามูลค่าหุ้น ใครก็ทำได้
การซื้อขายหุ้น ใครก็ทำได้
แต่การมีจิตใจที่ไม่หวั่นไหวต่อความผันผวนของราคาหุ้น มีน้อยคนที่ทำได้

ดังนั้น อยากบอกว่า
ในความเห็นของผม จิตใจสำคัญที่สุดในการลงทุนครับ