Wednesday, September 19, 2007

บทความ โดย K.ลูกอีสาน 2















ความเชื่อเกี่ยวกับการลงทุนในแนวทางเน้นคุณค่า (Value Investment)


1. ความเชื่อ : นักลงทุน VI นิยมลงทุนในหุ้นที่จ่ายเงินปันผลสูง


เมื่อนักลงทุนVIจะลงทุนในหุ้นต้องพิจารณาจากปัจจัยพื้นฐานต่างๆของกิจการโดยที่ผลตอบแทนจากเงินปันผลเป็นเพียงปัจจัย
หนึ่งเท่านั้นและที่จริงไม่ควรจะเป็นปัจจัยหลักแม้ว่าโดยส่วนใหญ่หุ้นที่จ่ายปันผลสูงจะมีความเสี่ยงที่ราคาจะลดลงต่ำกว่าหุ้นที่
จ่ายปันผลน้อยและเงินปันผลจะเป็นกับดักหากเป็นเงินปันผลที่ไม่มีคุณภาพเช่นจ่ายในระดับสูงเมื่อเทียบกับกำไรที่ทำได้ในขณะ
ที่กิจการยังต้องการเงินทุนเงินปันผลที่จ่ายจากกำไรที่ทำได้สูงกว่าปกติหรือเงินปันผลจากกิจการที่ความสามารถในการทำกำไร
ในอนาคตลดลงหากนักลงทุนสบายใจที่จะลงทุนในหุ้นที่จ่ายเงินปันผลสูงสิ่งที่ต้องมองหาคือความยั่งยืนและคุณภาพของ
เงินปันผล


2. ความเชื่อ : นักลงทุน VI นิยมลงทุนในหุ้นที่มีสภาพคล่องต่ำ

นักลงทุนVIลงทุนในหุ้นโดยตัดสินใจจากปัจจัยพื้นฐานของกิจการสภาพคล่องในการซื้อขายไม่ควรจะเป็นประเด็นหลักแต่เนื่อง
จากหุ้นเหล่านี้มีคนซื้อคนขายน้อยมีความเสี่ยงที่เมื่อนักลงทุนต้องการขายอาจจะไม่มีคนรับซื้อหรือขายได้ในราคาต่ำๆดังนั้น
หากนักลงทุนพิจารณาลงทุนในหุ้นเหล่านี้ควรเป็นการลงทุนระยาวและต้องมั่นใจในพื้นฐานของกิจการและซื้อในราคาที่มีส่วน
เผื่อเพื่อความปลอดภัย(Margin of safety) มากกว่าปกติ

3. นักลงทุน VI ถือหุ้นระยะยาว ซื้อหุ้นแล้วไม่ขาย ถือไปตลอดชีวิต

นักลงทุนVIจะซื้อหุ้นที่มีมูลค่าต่ำกว่าที่ควรจะเป็นและจะขายเมื่อราคาหุ้นขึ้นไปถึงหรือเกินกว่าราคาที่่ควรจะเป็นดังนั้นการซื้อ
หรือขายขึ้นอยู่กับราคาหุ้นในตลาดกับมูลค่าที่เหมาะสมระยะเวลาในการถือหุ้นไม่ควรมีหลักเกณฑ์ตายตัวในความเป็นจริงเมื่อ
นักลงทุนซื้อหุ้นและรอให้ตลาดรับรู้มูลค่าซึ่งอาจต้องใช้ระยะเวลานานเพราะพื้นฐานของกิจการต้องอาศัยระยะเวลาในการ
เปลี่ยนแปลงซึ่งทำให้ดูเสมือนว่านักลงทุนมักถือหุ้นระยะยาว

4. ความเชื่อ : นักลงทุน VI ต้องเรียนสูง มีความฉลาดทางปัญญา

เชื่อกันว่าระดับIQมีผลต่อการลงทุนบ้างแต่สิ่งที่จำเป็นมากกว่าคือนักลงทุนต้องพัฒนาให้มีความฉลาดทางอารมณ์(EQ)
สูงเพื่อที่จะได้ใช้ประโยชน์จากความฉลาดของปัญญาหรือIQได้เต็มที่นักลงทุนที่โดดเด่นจะมีทั้งIQและEQสูงส่วนทักษะ
ที่จำเป็นต้องเรียนรู้เพื่อนำมาใช้ในการลงทุนควรรู้คณิตศาสตร์เบื้องต้นรู้ภาษาธุรกิจซึ่งก็คือการบัญชีเบื้องต้นและควรจะ
สามารถวิเคราะห์โดยใช้เหตุและผลได้ดีโดยที่ความรู้เช่นนี้ไม่จำเป็นที่จะต้องเรียนสูงๆหรือจบจากสถาบันดีๆแล้วจะ
ทำได้ดีกว่า

5. ความเชื่อ : นักลงทุน VI ไม่ลงทุนในวอร์แรนต์

วอร์แรนต์คือตราสารแสดงสิทธิ์ที่จะซื้อหุ้นในอนาคตตามเงื่อนไขบางประการดังนั้นวอร์แรนต์ควรจะได้รับการประเมินมูลค่า
บนบรรทัดฐานเดียวกับการประเมินมูลค่าหุ้นหากวอร์แรนต์มีราคาต่ำกว่ามูลค่าที่ควรจะเป็นก็ไม่มีเหตุผลใดที่นักลงทุนVIจะ
ไม่ลงทุนแต่สิ่งที่ต้องเข้าใจก่อนลงทุนคือวอร์แรนต์เป็นตราสารอนุพันธ์ซึ่งอ้างอิงอยู่กับราคาหุ้นแม่แต่จะมีความผันผวนมาก
กว่าเพราะคุณสมบัติของอัตราการทวีผล(Gearing)กิจการที่มีการเพิ่มทุนโดยการออกวอร์แรนต์หรือเพิ่มทุนโดยตรง จะไม่ทำให้นักลงทุนเสียหายหากกิจการสามารถที่จะสร้างกำไรเพิ่มชดเชยผลกระทบจากที่มีหุ้นเพิ่ม(Dilution Effect) หรือจะดียิ่งกว่าหากกิจการนำเงินไปลงทุนได้ผลกำไรสูงกว่าต้นทุนเงินลงทุนของผู้ถือหุ้น

6. ความเชื่อ : หุ้น VI ส่วนใหญ่เป็นหุ้นที่มีอัตราการเติบโตของผลกำไรต่ำแต่มั่นคง

หลักการของการลงทุนแบบVIคือการซื้อหุ้นที่มูลค่าต่ำกว่าที่ควรจะเป็นดังนั้นไม่ว่าหุ้นนั้นจะเป็นหุ้นเติบโตสูง
(Growth Stock) หุ้นวัฏจักร(Cyclical Sstock) หุ้นสินทรัพย์มาก (Asset play) หรือหุ้นมั่นคง(DefensiveStock)ควรจะได้รับการพิจารณาเหมือนๆกันในแง่ความคุ้มค่าเมื่อเปรียบเทียบกับราคาที่นักลงทุน
จะจ่ายแต่สิ่งหนึ่งที่นักลงทุนควรเข้าใจคือหุ้นที่แตกต่างกันไม่สามารถที่จะวัดความถูกหรือแพงโดยใช้อัตราส่วนทางการเงิน
ตัวเดียวกันเช่นการใช้อัตราส่วนราคาหุ้นต่อกำไรต่อหุ้น(P/ERatio)ค่าพีอีที่ต่ำแสดงว่าหุ้นตัวนั้นราคาถูกแต่หากเป็นหุ้นที่ม
การเติบโตสูงค่าพีอีที่ไม่สูงกว่าการอัตราการเติบโตของผลกำไรก็ถือว่าหุ้นราคาถูกเช่นกันในขณะที่การใช้ค่าพีอีกับหุ้นที่เป็น
วัฏจักรจะเป็นสิ่งที่ตรงกันข้าม คือค่าพีอีที่สูงแสดงว่าหุ้นอาจจะกำลังอยู่ในภาวะที่ควรลงทุน เป็นต้น

7. ความเชื่อ : การลงทุนในหุ้นสามัญเป็นการเสี่ยง แม้ลงทุนแบบ VI ก็มีความเสี่ยง

เป็นความจริงที่ว่าการลงทุนในหุ้นมีความเสี่ยงแต่ความเสี่ยงที่สุดคือการไม่ลงทุนอะไรเลยเพราะเงินเฟ้อจะลดอำนาจซื้อ
ของเงินอยู่ตลอดเวลาหากเป็นมนุษย์เงินเดือนทั่วๆไปการลงทุนฝากเงินธนาคารที่มีความเสี่ยงการลดลงของเงินต้นต่ำ อาจจะเพียงพอที่จะใช้ชีวิตแบบพอเพียงและอาจจะต้องกระเบียดกระเสียรในชีวิตหลังเกษียณหากต้องการแสวงหาคุณภาพ
ชีวิตที่ดีกว่าทุกคนควรแบ่งเงินลงทุนในหุ้นบ้างตามความสามารถในการรับความเสี่ยงหากมีการกระจายการลงทุนในหุ้นที่
่เหมาะสมความเสี่ยงที่เงินลงทุนจะกลายเป็นศูนย์จะเท่าๆกับความเสี่ยงที่เงินฝากในธนาคารจะกลายเป็นศูนย์เช่นกัน และหากถึงวันนั้นจริง เงินที่ฝั่งตุ่มไว้ก็คงมีค่าเพียงเศษกระดาษเท่านั้น

No comments: